สำเนียง drip-drip ของนาฬิกาน้ำ เป็นเสียงเครื่องบอกเวลา ของชาวอารยธรรมโบราณ ก่อนจะมาเป็นเสียง tick-tock ของนาฬิกาดังเช่นปัจจุบัน
นาฬิกาน้ำ (Clepsydra) อาศัยหลักการของการสะสม ของน้ำในถัง แล้วยกตัวชี้บอกเวลา (Hour pointer) ในการบอกเวลา ซึ่งจะสามารถบอกเวลาได้ ทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน ไม่เหมือนนาฬิกาแดด ที่จะบอกเวลาได้ ก็ต่อเมื่อ มีแสงแดดเท่านั้น โดยที่จากหลักฐานพบว่า นาฬิกาน้ำมีใช้อย่างน้อย 140 ปีก่อนคริสตศักราช
หลักการทำงานของนาฬิกาน้ำ ถังน้ำที่ว่างเปล่า จะถูกเริ่มสะสมน้ำ ในเวลาเที่ยงคืน น้ำที่ไหลอย่างคงที่ เข้ามายังถังสะสม (Float tank) ทำให้เข็มชี้บอกเวลา (Hour pointer) ถูกยกขึ้น เป็นการบอกเวลา และเมื่อน้ำในถังสะสมเต็ม น้ำก็จะถูกระบายทิ้ง ผ่านระบบกาลักน้ำ (Siphon) โดยอัตโนมัติทุกเที่ยงคืน น้ำที่ล้นผ่านกาลักน้ำ จะสะสม และดันให้วงล้อ (Water wheel) หมุนแกนบอกเวลา (Drum dial) เพื่อเปลี่ยนวันที่ ทำให้สามารถบอกได้ว่า ช่วงระยะเวลากลางวัน ของแต่ละฤดูนั้น ยาวนานไม่เท่ากัน โดยที่ช่วงเวลากลางวัน ในฤดูร้อน จะยาวนานกว่า ช่วงเวลากลางวัน ในฤดูหนาว
อย่างไรก็ตาม นาฬิกาน้ำก็ยังไม่สามารถระบุเวลา ที่แม่นยำ ในแต่ละวันได้ แต่อย่างน้อย นาฬิกาน้ำก็สามารถทำหน้าที่ เป็นเครื่องมือบอก หรือกำหนดช่วงเวลา (Period) ได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น